เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 71. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ 5 ทับไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสวิวาทกันอยู่ด้วยมูลเหตุ
แห่งการวิวาท 6 อย่าง” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา 6” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ 6 อย่างกลุ้มรุมแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ
อนุสัย 7” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ 7 คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ฟูขึ้นเพราะมานะ 7” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม 8” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะ
มิจฉัตตะ 8” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ 8” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ 9” ฯลฯ “โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ 9”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ 10” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ
อาฆาตวัตถุ 10” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ 10 คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ
10” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เพียบพร้อมด้วยสักกายทิฏฐิอันมีวัตถุ 10” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเนิ่นช้าเพราะ
ตัณหา 108 ทำให้เนิ่นช้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ 62 กลุ้มรุม” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “ส่วนเราเป็นผู้ข้าม
ได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้น เราเป็นผู้
ฝึกแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ได้ฝึก เราเป็นผู้สงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้
เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ
เราเป็นผู้ข้ามได้แล้วจะให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นแล้วจะให้สัตว์โลกพ้นได้ด้วย
เราฝึกได้แล้ว จะฝึกสัตว์โลกได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้วจะให้สัตว์โลกสงบได้ด้วย เรา
เป็นผู้เบาใจแล้วจะให้สัตว์โลกเบาใจได้ด้วย เราเป็นผู้ดับสนิทแล้วจะให้สัตว์โลกดับ
สนิทได้ด้วย” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต

มหากรุณาญาณนิทเทสที่ 71 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
72-73. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[119] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี
อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[120] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม
ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ
เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น
อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน
ญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :183 }